เสร็จสิ้นลงแล้วสำหรับกิจกรรม Frontier in Food ครั้งที่ 1 “The Impact of Gut Microbiota and Linkage to Brain on Human Health" โดย รศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร จากภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรศ.ดร.สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โดยวิทยากรได้เน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงระหว่าง Gut Microbiota และ Brain หรือ จุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และสมอง โดยปกติระบบทางเดินอาหารของมนุษย์จะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์จำนวนมากหลายล้านตัว ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ตัวดี และจุลินทรีย์ตัวร้าย หากร่างกายมีจุลินทรีย์ตัวดีจำนวนมาก จะช่วยปรับสมดุลให้กับลำไส้ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น อัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน ซึ่งการทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่มี Fiber สูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช) อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (Dark Chocolate, ชา) และอาหารหมัก (Kombucha, กิมจิ) นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างจุลินทรีย์ตัวดี หากร่างกายเกิดความเครียดหรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ก็จะทำให้จุลินทรีย์ตัวดีถูกทำลาย และเกิดการเสียสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้จุลินทรีย์ตัวร้ายเติบโตจนทำให้ร่างกายอ่อนแอ
สำหรับกิจกรรม Frontier in Food ครั้งต่อไป สามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ และ fanpage ของ Food Innopolis
เอกสารประกอบการบรรยาย Frontier in Food #1
1. Gut Ecosystem
https://drive.google.com/open?id=1_HQT6uCeXRhXKvSB...
2. Gut Brain Axis
https://drive.google.com/open?id=19VtbmIc7nDSWessz...