เกี่ยวกับเรา

เมืองนวัตกรรมอาหาร

Food Innopolis

อุตสาหกรรมอาหาร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านการผลิต การส่งออก การสร้างผู้ประกอบการ การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ โดยมีการ เชื่อมโยงกับภาคเกษตรกรรมในห่วงโซ่อุปทานจากทุกภูมิภาคของประเทศ เกิดการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และชุมชน แต่ในปัจจุบัน พบว่าภาคเกษตรอาหารของไทยประสบภาวการณ์แข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้น การผลิตสินค้าเกษตรอาหารส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรขั้นปฐมภูมิ ราคาต่ำ และความต้องการของ ตลาดไม่แน่นอน มีความผันผวนสูง จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการผลิตเกษตรอาหารไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพสูง (High Value Added: HVA) มีความแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นที่ต้องการของตลาด และขายได้ในราคาสูง เพิ่ม ความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหาร และรายได้ของเกษตรกรในระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยการ วิจัย พัฒนาและนวัตกรรม

22 กันยายน 2558 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบนโยบายคลัสเตอร์ ซึ่งเน้นคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ที่มีศักยภาพและมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมี Food Innopolis เป็น Super Cluster ซึ่งในการดำเนินนโยบายคลัสเตอร์ให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

การจัดตั้ง Food Innopolis จะช่วยให้ประเทศเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในประเด็น ดังต่อไปนี้

1.ช่วยเร่งส่งเสริมนวัตกรรมอาหารมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก

2.ช่วยเร่งส่งเสริมการลงทุนวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้น และจะทำ ให้เกิดการจ้างงานบุคลากรวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมจำนวนมาก

3.พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญของอาเซียน ซึ่งจะเป็น ฐานความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารฟังก์ชั่นและ โภชนเภสัชภัณฑ์ อาหารและวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารคุณภาพสูง สารปรุงแต่งอาหารและสารสกัดทางโภชนาการ ผลิตภัณฑ์ไขมันและน้ำมันเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้คุณภาพสูง และกิจการสนับสนุนนวัตกรรม อาหาร เป็นต้น

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สวทน. (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช.) ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารตามมติ คณะรัฐมนตรี ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เพื่อพัฒนา Food Innopolis ให้เป็นพื้นที่ ที่มีความพร้อมด้าน โครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความร่วมมือระหว่าง สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และภาคเอกชน (Public Private Partnership) ที่เข้มแข็ง และมีการจัดสรรสิทธิ ประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนในกิจการฐานนวัตกรรม อาทิ การวิเคราะห์ทดสอบ ระบบคุณภาพและมาตรฐาน ระบบตรวจสอบย้อนกลับ การออกแบบและวิศวกรรมเพื่อการผลิต การฝึกอบรมทักษะขั้นสูง การวิจัย การ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาต้นแบบและทดลองผลิต นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ การขนส่งอาหาร และ เทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับการเกษตรและนวัตกรรมอาหาร เป็นต้น เพื่อดึงดูดให้บริษัทอาหารชั้นนำของโลก ทั้งบริษัทต่างประเทศและบริษัทไทยเข้ามาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาและนวัตกรรมใน Food Innopolis

27 พฤษภาคม 2559 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือกับ 35 หน่วยงาน ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัย 12 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 9 แห่ง บริษัทเอกชน 13 บริษัท และสมาคม 1 แห่ง ณ สำนักงานประสานงานเมืองนวัตกรรมอาหาร อาคารอุทยานนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเพื่อวางเป้าหมายในการสร้าง นวัตกรรมด้านอาหารที่สอดคล้องกับแนวโน้มและทิศทางของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก โดยความร่วมมือ ระหว่าง 3 ภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานในรูปแบบที่ อาศัยกลไกประชารัฐ ระหว่างเอกชน รัฐ และสถาบันการศึกษาเพื่อร่วมมือกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร ของประเทศ และภารกิจของเมืองนวัตกรรมอาหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้

17 กุมภาพันธ์ 2560 Food Innopolis ได้จัดกิจกรรม Food Innopolis Open House ณ เมือง นวัตกรรมอาหาร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี พร้อมกันนี้ยังได้มีการลงนามความร่วมมือ ขับเคลื่อนเมืองนวัตกรรมอาหารร่วมกับ 17 หน่วยงาน ประกอบไปด้วยภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน เมืองนวัตกรรมอาหาร เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี หรือ สวทช. มีหน่วยงานเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหารทั้งสิ้น 15 แห่ง ในทุกภูมิภาคทั่ว ประเทศ และพัฒนาการให้บริการผู้ประกอบการในรูปแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) รวมถึงมีการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการ พร้อมตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการในทุกระดับ เพื่อ สนับสนุนให้เกิดการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรม อาหารของประเทศ

Food Innopolis Global Food
Innovation Hub: Gateway to ASEAN

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเมืองนวัตกรรมอาหาร

01

แพลตฟอร์มด้านนวัตกรรมอาหารของอาเซียนและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารระดับโลก

02

เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Research and Innovation Hub) สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และเป็นแหล่งจ้างงานบุคลากรวิจัย

03

เพื่อยกระดับความสามารถ บริษัทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ บริษัทจัดตั้งใหม่ (Startup) ให้สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานอาหารระดับโลกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

04

เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารของไทยจากการผลิตสินค้าและบริการ ที่ใช้แรงงานเข้มข้นมีมูลค่าเพิ่มต่ำไปสู่สินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงโดยใช้วิทยา ศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้น

วิสัยทัศน์

แพลตฟอร์มด้านนวัตกรรมอาหารของอาเซียนและเป็นหนึ่งในศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารระดับโลก

พันธกิจ

  • จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมอาหารระดับประเทศที่ครอบคลุมทุกพื้นที่
  • บูรณาการความร่วมมือด้านนวัตกรรมอาหารระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน และพัฒนารูปแบบการบริการที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในทุกระดับ
  • พัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของทั้งผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ ให้สร้างสรรค์สินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารไทย
  • สร้างเครือข่ายพันธมิตรด้านนวัตกรรมอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเชื่อมโยงประเทศไทยกับห่วงโซ่มูลค่าอาหารของโลก

เป้าหมาย 10 ปี

(พ.ศ. 2562 – 2572)

01

ด้านเศรษฐกิจ

  • กระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหาร
  • ช่วยเร่งส่งเสริมนวัตกรรมอาหารมูลค่าเพิ่มสูงเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก

02

ด้านการจ้างงานรายได้สูง

  • เพิ่มการจ้างงานบุคลากรวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (Smart Workforce)
  • พัฒนาอาชีพนักวิจัย (Career Path) ด้านนวัตกรรมอาหาร และสาขาที่เกี่ยวข้อง

03

ด้านการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคและลดความเหลื่อมล้ำ

  • พื้นที่ส่วนภูมิภาคได้รับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจนวัตกรรมด้านอาหาร ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ ผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาค และส่งผลต่อเนื่อง
    สู่ชุมชน ผู้ผลิตและแรงงาน ในภูมิภาคที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ต่อเนื่องได้อีกจำนวนมาก

04

ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ

  • เกิดบริษัท Startup ด้านเทคโนโลยีอาหารที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด
  • ผู้ประกอบการ SMEs มีศักยภาพและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม
  • ยกระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรม (Technology Readiness Levels) ของงานวิจัยให้มี ระดับที่สูงขึ้นเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์
  • มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมอาหารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอาหารเพื่ออนาคต กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

05

ด้านความปลอดภัยทางอาหาร

  • เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและคุณภาพสูง ลดการตีกลับ ของอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน

06

ด้านความยั่งยืน

  • ผลิตอาหารที่มีปริมาณและคุณภาพได้เพียงพอต่อประชากรโลก ประชากรมีสุขภาพที่ดี ลดของเสีย และ ส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และมีความยั่งยืน

07

ด้านนวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขัน

  • ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารของโลกที่เป็นที่รู้จัก